วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

วิจัยปูม้า

ปริมาณการลำเลียงตับปิ้งไข่ปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ต่ออัตราการฟักของไข่
transported quantities of berried aprons of Blue swimming crab
(Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) on the egg hatching rates

วารินทร์ ธนาสมหวัง Varin Tanasomwang
สง่า สิงห์ Sanga Singhong
ชัยยุทธ พุทธิจุน Chaiyut Phuttichum
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร Samutsakhon Coastal Fisheries
Researchand Development Center

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณการลำเลียงตับปิ้งไข่ปูม้าต่ออัตราการฟักของไข่โดยดำเนินการทดลอง 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งตับปิ้งไข่ปูในปริมาณต่างๆถูกลำเลียงจากโรงต้มปู จ.สมุทรสงคราม ถึงโรงเพาะฟักของศูนย์ฯ สมุทรสาคร ในกล่องโฟมขนาด 35x50x27 ซม. ที่บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 30 ส่วนในพัน ในปริมาตร 20 ลิตร ไข่สีน้ำตาลที่แยกจากตับปิ้งจำนวน 4 ซ้ำ จากแต่ละปริมาณการลำเลียงถูกนำไปบ่มในขวดโหลแก้วทรงกระบอกโหลละ 30 กรัม (ประมาณ 660,900 ฟอง) ที่บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 30 ส่วนในพัน ในปริมาตร 6 ลิตร พร้อมให้อากาศอย่างแรง ไข่สีน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีดำก่อนทยอยฟักออกเป็นตัวอ่อนปูม้าหลังจากบ่มไว้เป็นระยะเวลา 2-4 วัน ในการทดลองแต่ละครั้ง ตรวจหาปริมาณแบคทีเรียรวมและปริมาณ Vibrio ที่ปนเปื้อนน้ำลำเลียงตับปิ้งไข่ปูและไข่ปูก่อนนำไปฟัก ตลอดจนตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในขวดโหลบ่มฟักไข่ปูควบคู่ไปด้วยทุกครั้ง
อัตราการฟักเฉลี่ยของไข่ปูสีน้ำตาลจากตับปิ้งไข่ปูในปริมาณการลำเลียง 2, 3 และ 4 กก./น้ำ 20 ลิตร ในการทดลองครั้งที่ 1 อยู่ที่ 62.16±3.37%, 57.08±2.79% และ 75.98±11.79% และปริมาณการลำเลียง 4 และ 5 กก./น้ำ 20 ลิตร ในการทดลองครั้งที่ 2 อยู่ที่ 76.16±11.17% และ 61.99±5.15% ส่วนปริมาณการลำเลียง 6 และ 7 กก./น้ำ 20 ลิตร ในการทดลองครั้งที่ 3 อัตราการฟักของไข่ปูอยู่ที่ 26.21±4.48% และ 45.80±5.10% ตามลำดับ การเปรียบเทียบอัตราการฟักของไข่ปูจากปริมาณการลำเลียงต่างๆ โดยครั้งที่ 1 ใช้ปริมาณการลำเลียง 4 กก./น้ำ 20 ลิตร ของการทดลองครั้งที่ 1 ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ปริมาณการลำเลียง 4 กก./น้ำ 20 ลิตร ของการทดลองครั้งที่ 2 ในการเปรียบเทียบโดยใช้ Duncan’s multiple range test ผลการวิเคราะห์ทางสถิติของทั้ง 2 ครั้ง เหมือนกัน คือ ตับปิ้งไข่ปูในปริมาณการลำเลียง 4 กก./น้ำ 20 ลิตร ให้อัตราการฟักของไข่สูงสุดและแตกต่างกับอัตราการฟักของไข่จากตับปิ้งในปริมาณการลำเลียงอื่นๆ ปริมาณการลำเลียงที่ 2, 3 และ 5 กก./น้ำ 20 ลิตร ให้อัตราการฟักของไข่รองลงมาและมากกว่าอัตราการฟักของไข่จากตับปิ้งไข่ปูในปริมาณการลำเลียง 6 และ 7 กก./น้ำ 20 ลิตร และปริมาณการลำเลียง 7 กก./น้ำ 20 ลิตร ให้อัตราการฟักของไข่มากกว่าอัตราการฟักของไข่จากตับปิ้งไข่ปูในปริมาณการลำเลียง 6 กก./น้ำ 20 ลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
ปริมาณแบคทีเรียรวมและปริมาณ Vibrio ที่ปนเปื้อนน้ำลำเลียงตับปิ้งไข่ปูและไข่ปูก่อนนำไปบ่มฟักไม่ได้ผันแปรตามปริมาณการลำเลียงที่เพิ่มขึ้นเสมอไป ส่วนคุณภาพน้ำในขวดโหลบ่มฟักไข่ปูมีการเปลี่ยนแปลงโดยความเป็นด่าง (alkalinity) และความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลดลงตามอัตราการฟักของไข่ปูที่เพิ่มขึ้น และปริมาณไนไตรท์ (NO2-N) และแอมโมเนีย (NH3-N) เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการบ่มฟักไข่ปู

คำสำคัญ : อัตราการฟัก ไข่ปูม้า ตับปิ้งไข่ปู ปริมาณการลำเลียง
http://www.fisheries.go.th/newsupdate/seminar/TRANSPORTED%20QUANTITIES.doc




















การขุนปูม้าในคอกของชุมชนบาตูปูเต๊ะ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
อภิรักษ์ สงรักษ์ และ กษมา วัชรินทรชัย
ภาควิชาการจัดการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
บทคัดย่อ
การเลี้ยงปูม้าในคอกบ้านบาตูปูเต๊ะ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตต้นทุนและผลตอนแทนในการเลี้ยง โดยการปล่อยปูม้าขนาดเล็กจำนวน 160 ตัวต่อคอกลงเลี้ยงในคอกขนาด 4x4x1.2 เมตร จำนวน 2 คอก ใช้เวลาในการเลี้ยงรวม 5 สัปดาห์ สุ่มปูมาชั่งน้ำหนักและวัดความกว้างกระดองทุกสัปดาห์ ภายใต้การช่วยเหลือของกลุ่มออมทรัพย์ประมงทะเลพื้นบ้านในด้านการสร้างคอก การรวบรวมพันธุ์ปูม้า และการเลี้ยงในคอก
ผลการศึกษาพบว่าขนาดปูม้าที่ปล่อยเริ่มต้นมีน้ำหนักเฉลี่ย 47.69 กรัม/ตัว และความกว้างกระดองเฉลี่ย 9.56 เซนติเมตร/ตัว เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงพบว่าปูม้ามีอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเพิ่มขึ้น 49.69% และความกว้างกระดองเพิ่มขึ้น 13.72% มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 93.13% ต้นทุนในการเลี้ยงปูม้ารวม 1,560 บาท และได้ผลกำไรสุทธิ 244 บาท
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำปูม้าขนาดเล็กมาเลี้ยงในคอก เพื่อเพิ่มขนาดและมูลค่ามีความเป็นไปได้สูง และหากชาวประมงสามารถลดต้นทุนในการเลี้ยงโดยการนำเศษปลาในหมู่บ้านมาแทนปลาเป็ด จะทำให้ได้รับผลกำไรเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รูปแบบการดำเนินการที่เหมาะสมควรอยู่ภายใต้การรวมกลุ่มของชาวประมงทะเลพื้นบ้านแบบชุมชนมีส่วนร่วม
คำสำคัญ : การเลี้ยงปูม้า จังหวัดตรัง
บทคัดย่อการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2549
วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2549
ณ ห้องประชุมกรมประมง




อัตรารอดตายของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่อนุบาลในบ่อดิน
วารินทร์ ธนาสมหวัง สามารถ เปรมกิจ วัฒนา ฉิมแก้ว และชัยยุทธ พุทธิจุน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การอนุบาลปูม้าระยะ zoea ถึง young crab ในบ่อดินขนาด 0.8 ไร่ (1,280 ตร.ม.) จำนวน 4 ครั้งโดยครั้งที่ 1 และ 2 ไม่ได้บำบัดน้ำในบ่ออนุบาลด้วยคลอรีนในรูปของแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (Ca(OCl)2) ก่อนปล่อยลูกพันธุ์ ปรากฎว่า การอนุบาลลูกปูครั้งที่ 1 จำนวน 1,792,000 ตัว เป็นระยะเวลา 30 วัน มีลูกปูที่มีขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 3.19+0.68 ซม. เหลือรอดเพียง 4,620 ตัว หรือมีอัตรารอดตาย 0.26% ครั้งที่ 2 ปล่อยลูกพันธุ์จำนวน 2,048,000 ตัว และอนุบาลเป็นระยะเวลา 37 วัน หลังการเก็บเกี่ยวได้ลูกปูขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 2.39+0.45 ซม. จำนวน 6,250 ตัว คิดเป็นอัตรารอดตาย 0.31% ส่วนในการอนุบาลลูกปูครั้งที่ 3 และ 4 มีการบำบัดน้ำในบ่ออนุบาลด้วยคลอรีนในรูปของแคลเซียมไฮโปรคลอไรท์ก่อนปล่อยลูกพันธุ์ในครั้งที่ 3 ปล่อยลูกพันธุ์ จำนวน 2,368,000 ตัว และอนุบาลเป็นระยะเวลา 40 วัน มีลูกปูขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 3.08+0.59 ซม. เหลือรอดเมื่อเก็บเกี่ยวจำนวน 71,125 ตัว หรือมีอัตรารอดตาย 3.00% และในครั้งที่ 4 อนุบาลลูกปูจำนวน 2,048,000 ตัว เป็นระยะเวลา 40 วัน หลังการเก็บเกี่ยวมีลูกปูขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 3.35+0.68 ซม. เหลือรอดจำนวน 24,816 ตัว คิดเป็นอัตรารอดตาย 1.21%
การสังเกตเพศของลูกปูที่สุ่มเก็บตัวอย่างหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละครั้ง พบว่า ปูเพศผู้และเพศเมียมีจำนวนใกล้เคียงกัน อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียประมาณ 1:1
คำสำคัญ : ลูกปูม้า การอนุบาล บ่อดิน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร






การเพาะพันธุ์และอนุบาลปูแสม (Episesarma mederi H. Mile Edward, 1854) วัยอ่อนในความเค็มต่างกันฐิติทิพย์ ด้วงเงิน บุญชัย เจียมปรีชาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจังหวัดสมุทรสงครามบทคัดย่อ
การเพาะพันธุ์และอนุบาลปูแสมวัยอ่อนในความเค็มต่างกันได้ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ระหว่างตุลาคม 2544 ถึงกันยายน 2545 โดยใช้ปูแสมไข่นอกระดองที่มีความกว้างของกระดอง (ICW) ระหว่าง 3.10-3.70 เซนติเมตร และน้ำหนักระหว่าง 25.0-40.0 กรัม นำปูไข่นอกกระดองไปเพาะพันธุ์และอนุบาลที่ความเค็ม 0, 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพัน เป็นระยะเวลา 30 วันเมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า แม่ปูแสมสามารถเขี่ยไข่เป็นลูกปูวัยอ่อน (zoea) ที่ความเค็มระหว่าง 5-30 ส่วนในพัน ยกเว้นที่ความเค็ม 0 (น้ำจืด) แม่ปูไม่ฟักไข่และตายหมดไปวันแรกของการทดลอง จากการศึกษาอัตราการฟักไข่พบว่า ความเค็มมีผลต่อการฟักไข่อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) โดยมีอัตราการฟักไข่เฉลี่ย 97.3, 97.5, 98.15, 98.00 และ 97.8 เปอร์เซ็นต์ และผลจากการอนุบาลลูกปูแสมระยะแรก (Zoea stage) พบว่า ความเค็มมีผลต่ออัตราการรอดตายอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยมีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 4.60, 66.80, 73.60, 81.40, 87.00 และ 80.80 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเค็ม 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพัน ส่วนลูกปูระยะ Metalopa ได้พัฒนาเป็นลูกปูเล็ก (First crab) มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 1.80, 3.00, 16.2, 19.80, 20.20 และ 22.20 เปอร์เซ็นต์ แม่ปูแสมขนาดความกว้างกระดองระหว่าง 2.42 - 3.30 เซนติเมตร น้ำหนัก 12.80-32.00 กรัม มีความดกของไข่ 18,300-51,810 ฟอง เฉลี่ย 47.755+15,348 ฟองคำสำคัญ : ปูแสม (Episesarma mederi H. MilneEdward, 1854) การเพาะพันธุ์ การอนุบาลความเค็ม




















ศึกษาผลของระดับความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของลูกปูม้าในระยะ Megalopa-First young crab
สรรเสริญ ช่อเจี้ยง ศราวุธ สังข์แก้ว และ เอกมัย มาลา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
ปูม้าเป็นปูเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะว่าตลาดมีความต้องการมากทั้งในประเทศ และตลาดต่างประเทศนิยมบริโภค เนื้อมีรสชาดดี ผลผลิตปูม้าได้มากจากการจับในธรรมชาติ ทำให้ปริมาณปูม้าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และปูม้าที่จับได้ก็มีขนาดเล็กลง และมีราคาแพงขึ้นกรมประมงได้ทำการวิจัยและทดลองเพาะพันธุ์และอนุบาลปูม้า แต่ได้ผลผลิตน้อย มีอัตรารอดตายต่ำ ลูกปูม้าจะตายมากในช่วงระยะ Megalopa-oung Crab หากนักวิจัยสามารถที่จะพัฒนาเทคนิคในการอนุบาลลูกปูม้าในช่วงระยะ Megalopa-oung crab ให้มีอัตรารอดตายสูงขึ้น ก็จะเป็นโอกาสดี ในอันที่จะขยายผลนำไปสู่การเลี้ยงปูม้าในบ่อดินต่อไป และจะเป็นแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งของเกษตรกรชาวนากุ้ง ที่กำลงประสบปัญหาในขณะนี้ไม่ว่าเรื่องสารตกค้างการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งปัญหาเสถียรภาพด้านราคา
ในการศึกษาถึงปัจจยที่จะเพิ่มอัตรารอดตายของลูกปูม้าในยะยะ Megalopa-Young crab ระดับความเค็มเหมาะสมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่ออัตราการรอดตาย และอัตราการเจริญเติบโต ความเค็มที่แตกต่างกันอาจจะมีผลต่ออัตราการรอดตาย และอัตราการเจริญเติบโตของลูกปูม้าในระยะ Megalopa- Young crab ได้เช่นกัน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการทราบความเค็ม 3 ระดับ ๆ ใดที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปูม้าในระยะ Megalopa-Young มีอัตราการรอดตาย และอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด
รายงานประจำปี 2548-2549
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งนครศรีธรรมราช



การฟักไข่ปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus) จากตับปิ้งของแม่ปูไข่นอกกระดองHatching of Blue Swimming Crab (Portunus pelagicus Linnaeus) Eggsfrom Abdomen of the Berried Femalesวารินทร์ ธนาสมหวัง พรทิพย์ อังศุกาญจนกุล จิรานุวัฒน์ ชูเพชรVarin Tanasomwang Pornthip Uangsukanjanakun Jiranuwat Choopet(วารสารการประมง ปีที่ 55 ฉบับที่ 4 กรกฏาคม - สิงหาคม 2545)
บทคัดย่อปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus) ที่จับจากทะเลขึ้นมาบริโภคมีแม่ปูไข่นอกกระดองรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากและไข่นอกกระดองของแม่ปูเหล่านี้ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์และเป็นการทำลายทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน่าเสียดาย การศึกษาครั้งนี้เป็นความพยายามในการฟักไข่ปูม้าจากตับปิ้งที่หักจากตัวแม่ก่อนนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำปูกระป๋องโดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตปูกระป๋องแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปูม้าที่รับซื้อจากชาวประมงลำเลียงมาถึงโรงต้มปูที่จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ (คู่ค้าผู้รับซื้อเนื้อปู) ทำการคัดเลือกและแยกปูไข่นอกกระดองออกมาเพื่อหักตับปิ้งก่อนนำปูไปต้มเพื่อแกะเนื้อ ตับปิ้งไข่ปูม้าที่นำมาศึกษาเป็นตับปิ้งไข่สีน้ำตาลและสีเหลืองอย่างละ 3 ตับปิ้ง ไข่สีน้ำตาลที่แยกจากแต่ละตับปิ้งมีจำนวน 577,201 , 506,705 และ 315,512 ฟอง ไข่สีเหลืองที่แยกจากแต่ละตับปิ้ง มีจำนวน 453,917 , 414,103 และ 402,544 ฟอง เมื่อนำไข่แต่ละชุดไปฟักในโหลแก้วทรงกระบอกที่บรรจุน้ำทะเล 6 ลิตร พร้อมให้ฟองอากาศ พบว่าชุดไข่สีน้ำตาล ไข่เปลี่ยนสีเป็นสีดำก่อนทยอยฟักเป็นตัวในวันที่ 2-4 จากการสุ่มนับสะสมลูกปูแรกฟักมีจำนวน 213,400 , 169,000 และ 120,400 ตัว ชุดไข่สีเหลือง ไข่เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลและสีดำตามลำดับก่อนทยอยฟักเป็นตัวในวันที่ 3-6 จากการสุ่มนับสะสมลูกปูแรกฟักมีจำนวน 82,934 , 143,866 และ 63,184 ตัว ตามลำดับอัตราการฟักเฉลี่ยของไข่สีน้ำตาลเท่ากับ 36.16 % ไข่สีเหลือง เท่ากับ 22.90 % อัตราการฟักของไข่ทั้งสองสีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P> 0.05) AbstractBlue swimming crab (Portunus pelagicus Linnaeus) being catched from the sea include a lot of berried females. Eggs of these berried females are wasteful discarded which destroy enormously of natural resource of the crab seeds. This study was an effort in hatching of eggs from abdomen that were removed from the berried ones before using those crabs as raw material in food canning. The effort was supported by a crab canning company in Samutsakhon Province. Researcher and staffs of the company (who purchased the crab flesh) would select the berried females out and removed abdomen from their bodies before boiling and taking flesh out from their shells. Two colours of eggs on the abdomen, brown and yellow, by which 3 abdomen for each colour were uses in this study. There were 577,201 , 506,705 and 315,512 brownish eggs and 453,917 , 414,103 and 402,544 yellowish eggs that were removed from each abdomen. Each group of eggs was incubated in a cylinder glass vat containing 61 of seawater with aeration. Brownich egg groups changed their colour to be black before hatching after 2-4 days of incubation. Randomly accumulated countings of the hatching groups were 213,400 , 169,000 and 120,400 larvae/each. Yellowish egg groups changed their colour to be brown and then black before hatching after 3-6 days of incubation and the numbers were 82,934 , 143,866 and 63,184 larvae/each. Average hatching rate of brownish eggs was 36.16% while that of yellowish eggs was 22.90%. The average hatching rates of brownish and yellowish eggswere not significantly different (P>0.05)
การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 17 - 25/09/2006 23:25 การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ในที่กักขังโดยให้ที่หลบซ่อนต่างชนิดวารินทร์ ธนาสมหวัง พรทิพย์ ทองบ่อ ฉลอง ทองบ่อ และวุฒิชัย ทองล้ำศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครบทคัดย่อการศึกษาอัตรารอดตายของลูกปูม้าที่อนุบาลตั้งแต่ระยะ zoea IV จนถึงระยะปูเล็ก (7 วัน หลังจากเข้าระยะ crab) ในที่กัดขังโดยให้ที่หลบซ่อนต่างชนิด โดยดำเนินการทดลอง 4 ครั้ง ที่อัตราความหนาแน่น 15,000, 18,500, 15,000 และ 20,000 ตัว/ลบ.ม. ตามลำดับ การทดลองแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น 3 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำการอนุบาลลูกปูม้าในบ่อคอนกรีตที่บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 30 ส่วนในพัน โดยไม่ให้และให้ที่หลบซ่อนต่างกัน 2 ชนิด ในการทดลองครั้งที่ 1 และให้ที่หลบซ่อนต่างกัน 3 ชนิด ในการทดลองครั้งที่ 2 ปรากฎว่า ลูกปูจากการทดลองทั้ง 2 ครั้ง มีอัตรารอดตายที่ต่ำมาก การทดลองครั้งที่ 1 อัตรารอดตายเฉลี่ยของลูกปูที่อนุบาลโดยให้ที่หลบซ่อนเป็นสาหร่ายเทียม ตะแกรงอวน และไม่ให้ที่หลบซ่อนอยู่ที่ 1.69+0.31, 0.80+0.26 และ 0.09+0.06% ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)>0.05) แต่สูงกว่าที่ใส่ตะแกรงอวน (1.07+0.71%) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)>0.05)การอนุบาลลูกปูม้าในถังไฟเบอร์ที่บรรจุน้ำทะเลความเค็ม 23 ส่วนในพัน โดยไม่ให้และให้ที่หลบซ่อนต่างกัน 2 ชนิด ในการทดลองครั้งที่ 3 และให้ที่หลบซ่อนต่างกัน 3 ชนิด ในการทดลองครั้งที่ 4 พบว่า ลูกปูจากการทดลองครั้งที่ 3 และ 4 มีอัตรารอดตายเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน การทดลองครั้งที่ 3 ลูกปูในถังที่ใส่สาหร่ายเทียมมีอัตรารอดตายเฉลี่ย 25.38+1.34% ซึ่งสูงกว่าลูกปูในถังที่ใส่ตะแกรงอวน(19.75+0.52%) และที่ไม่ใส่ที่หลบซ่อน(18.51+1.98%) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)>0.05) การทดลองครั้งที่ 4 ลูกปูในถังที่ใส่สาหร่ายเทียมมีอัตรารอดตายเฉลี่ย 30.10+1.89% ซึ่งแตกต่างจากที่ใส่อวนผืน (23.81+1.62%) และชั้นถาดไข่ (20.66+1.32%) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)>0.05)คำสำคัญ : ลูกปูม้า ที่หลบซ่อน ความเค็มของน้ำ อัตรารอดตายการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2547วันที่ 7-9 กรกฎาคม 2547ณ ห้องประชุมกรมประมง


























การอนุบาลลูกปูทะเล Scylla serrata Forskal ระยะ megalopa ด้วยอาหาร 4 ชนิดวิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี165 ม. 9 ต. บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000บทคัดย่อ
การอนุบาลลูกปูทะเล Scylla serrata Forskal ระยะ megalopa จนเข้าสู่ระยะ young crab (C1 - C2) ระหว่างเดือนธันวาคม 2543 ถึงเดือนพฤษภาคม 2544 ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี การอนุบาลลูกปูทะเลระยะ Magalopa จำนวน 300 ตัวในถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรผ่าเป็น 2 ซีก โดยใช้ที่หลบซ่อนต่างกัน 3 ชนิดคือ ไม่มีที่หลบซ่อน ใช้แผงอวนมุ้งสีฟ้าที่มีโครงทำด้วยไม้ไผ่และใช้แผงไข่พลาสติกวางซ้อนกัน ทำเป็นที่หลบซ่อน พบว่าลูกปูทะเลที่อนุบาลโดยใช้ที่หลบซ่อนต่างกัน 3 ชนิด ได้ลูกปูทะเลระยะ Young Crab รอดตายเฉลี่ยร้อยละ 4.11 +- 1.65 , 7.56 +- 0.84 และ 11.33 +- 4.18 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งลูกปูทะเลที่อนุบาลโดยใช้แผงไข่วางซ้อนกันมีอัตรารอดตายสูงที่สุด รองลงมาเป็นแผงอวนมุ้งสีฟ้าที่มีโครงทำด้วยไม้ ส่วนที่ไม่มีที่หลบซ่อนมีอัตรารอดตายต่ำที่สุด การอนุบาลลูกปูทะเลระยะ Megalop โดยใช้แผงไข่พลาสติกเป็นที่หลบซ่อน ใช้อาหารต่างชนิดกันในการอนุบาล คือ เนื้อปลาข้างเหลือง เนื้อหมึกสด เนื้อกุ้งตะกาด และเนื้อหอยแมลงภู่สด โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ครั้งการทดลองครั้งที่ 1 ได้อนุบาลลูกปูทะเลระยะ megalopa จำนวน 300 ตัวในถังน้ำมันผ่าซีกขนาดความจุ 100 ลิตร พบว่าได้ลูกปูทะเลระยะ crab stage รอดตายเฉลี่ย 2.89 +- 0.70 3.44 +- 1.02 5.44 +- 0.51 และ 8.44 +- 1.02 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยลูกปูทะเลระยะ megalopa ที่อนุบาลด้วยเนื้อหอยแมลงภู่เข้าสู่ระยะ crab stage มากที่สุดการทดลองครั้งที่ 2 ได้อนุบาลลูกปูทะเลระยะ megalopa จำนวน 650 ตัวในตู้กระจกใสขนาดความจุ 100 ลิตร พบว่าได้ลูกปูทะเลระยะ crab stage รอดตายเฉลี่ย 6.41 +- 1.31 4.36 +- 1.84 และ 14.41 +- 5.59 และ 28.92 +- 5.76 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยลูกปูทะเลระยะ megalopa ที่อนุบาลด้วยเนื้อหอยแมลงภู่เข้าสู่ระยะ crab stage มากที่สุด
คำสำคัญ : การอนุบาล ปูทะเล megalopa ที่หลบซ่อน อาหาร
รายงานประจำปี 2545 - 2546 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี











Growth and body composition of juvenile mud crab, Scylla serrata, fed different dietary protien and lipid levels and protien to energy ratio
การเจริญเติบโตและองค์ประกอบสารในร่างกายของปูทะเลชนิด Scylla serrata ในระยะวัยรุ่น
เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน ไขมัน และสัดส่วนโปรตีน/พลังงานต่างกัน

Mae R. Catacutan
Aquaculture Development, Southeast Asian Development Center, Tigbauan,
Iloilo 5021, Philippines

บทคัดย่อ

การทดลองเลี้ยงปูทะเลชนิด Scylla serrata เพื่อประเมินระดับโปรตีน ไขมัน และ สัดส่วนโปรตีน/พลังงาน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และองค์ประกอบสารในร่างกายของปู ด้วยอาหารสำเร็จรูป 6 สูตร ซึ่งประกอบด้วยปริมาณโปรตีน 3 ระดับ คือ 30 % 40% และ 48 % แต่ละดับโปรตีนประกอบด้วยปริมาณไขมัน 2 ระดับ คือ 6% และ 12% โดยมีสัดส่วนของโปรตีน/พลังงานระหว่าง 20.5 – 31.1 mg protein/KJ เริ่มจากนำปูทะเลจำนวน 36 ตัว มาแยกเลี้ยงเดี่ยวในถังขนาด 60 ลิตร ด้วยสูตรอาหารที่มีปริมาณโปรตีน 40 % จนกระทั่งลอกคราบ (ชั่งน้ำหนักปูทะเลหลังจากเลี้ยงได้ 18 วัน มีค่าเฉลี่ย 11.18 + 0.66 ก.) จากนั้นจึงนำปูหลังลอกคราบไปทดลองเลี้ยงด้วยสูตรอาหารตามชุดทดลองดังกล่าว จนกระทั่งปูลอกคราบอีก 3 ครั้ง และเลี้ยงต่ออีกเป็นระยะเวลา 30 วัน จึงสิ้นสุดการทดลอง ตรวจสอบการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนัก, วัดขนาดกระดอง ขณะเริ่มทดลอง ทุกครั้งหลังลอกคราบ และก่อนลอกคราบครั้งต่อไป คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) บันทึกระยะเวลาระหว่างการลอกคราบแต่ละครั้ง และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำปูไปแช่แข็ง ก่อนนำไปวิเคราะห์สารอาหารในปู ซึ่งผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารแต่ละสูตร ไม่มีผลต่อ FCR (3.21 – 4.21) และระยะเวลาในการลอกคราบ (มีค่าระหว่าง 111.3 -131.2 วัน) ความกว้างกระดองของปูที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารโปรตีน 40% ที่ระดับไขมัน 6 % (P/E 27.5 mg P/KJ)ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มระดับไขมันเป็น 12% นอกจากนี้แล้ว ที่ระดับโปรตีน 40 % ไขมัน 6% มีขนาดกระดองกว้างกว่าที่ระดับโปรตีน 48/6 และ48/12 อย่างมีนัยสำคัญ (P/E มีค่า 31.1 และ 27.2 mg Protain/KJ) ความกว้างกระดองและน้ำหนักปูที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรโปรตีน 40 % และ 32% ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งระดับไขมันในทุกระดับโปรตีนไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปริมาณ Ca ในโครงสร้างของปูมีค่าต่ำสุดในปูที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหาร 32/6 โดยมีน้ำหนักประมาณ ¼ ของน้ำหนักตัว ปริมาณไขมันในปูที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรโปรตีน 48% มีปริมาณต่ำ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ปูชนิดนี้สามารถเจริญเติบโดยได้ดี เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโปรตีน 32-40% ที่ระดับไขมัน 6% และ 12% และระดับพลังงานตั้งแต่ 14.7 – 17.6 MJ/Kg.




























การอนุบาลลูกปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758)
จากระยะ megalopa ถึง crab stage ในกระชังและบ่อคอนกรีต
สุรชาต ฉวีภักดิ์ ธิดาพร ฉวีภักดิ์ วริษฐา หนูปิ่น
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี
บทคัดย่อ
ทดลองอนุบาลลูกปูม้า, Portunus pelagicus (:innaeus, 1758) จากระยะ megalopa ถึง crab stage (อายุใน crab stage 5 วัน) ในกระชังและในบ่อคอนกรีต เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนระยะและอัตรารอดตาย ดำเนินการระหว่าง วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 3 กรกฎาคม 2547 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี โดยใช้บ่อคอนกรีตกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร จำนวน 6 บ่อ แบ่งเป็น 2 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ชุดการทดลองที่ 1 อนุบาลลูกปูม้าในกระชังขนาด 1.2x1.2x1.0 เมตร กระชังทำจากอวนมุ้งสีฟ้าขนาดตา 0.9 มิลลิเมตร วางกระชังในบ่อคอนกรีตมีน้ำเค็มในกระชัง 1.3 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยลูกปูม้ากระชังละ 11,700 ตัว คิดเป็นความหนาแน่น 9,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ชุดการทดลองที่ 2 อนุบาลลูกปูม้าในบ่อคอนกรีตที่มีน้ำเค็ม 2.0 ลูกบาศก์เมตร บ่อละ 18,000 ตัว คิดเป็นความหนาแน่น 9,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร เท่ากัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยลูกปูม้า crab stage จากกระชังและบ่อคอนกรีต เท่ากับ 982+197 และ 3,077+397 ตัว คิดเป็นอัตรารอดตายเฉลี่ย 8.39+1.68 และ 17.09+2.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) การทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การอนุบาลลูกปูม้าจากระยะ megalopa ถึง crab stage ในบ่อคอนกรีตดีกว่าการอนุบาลในกระชัง
คำสำคัญ : ปูม้า การอนุบาล กระชัง บ่อคอนกรีต
เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 4/2550
สุรชาต ฉวีภักดิ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี









44910679: สาขาวิชา: วาริชศาสตร์; วท.ม. (วาริชศาสตร์)
คำสำคัญ: ปู/ Protunus/ การเพาะเลี้ยง/ ความเค็มน้ำ/ อาหาร/ วัสดุหลบซ่อน
อโนชา กิริยากิจ: ผลของความเค็มน้ำ ชนิดอาหาร และสิ่งหลบซ่อนต่อการพัฒนาการเจริญเติบโต และการรอดตายของการอนุบาลลูกปูม้า Portunus pelagicus Linnaeus (EFFECTS OF SALINITY, TYPE OF FEED, AND SHELTER ON DEVELOPMENT, GROWTH AND SURVIVAL RATE FOR LARVICULTURE OF BLUE SWIMMING CRAB (Portunus pelagicus Linnaeus) อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์: บุญรัตน์ ประทุมชาติ, วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์, สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ. ISBN 974-382-948-2

ทำการทดลองอนุบาลลุกปูม้า (Portunus pelagicus) เชิงพาณิชย์ 3 ระยะ ได้แก่ระยะซูเอีย (Zoea Stage) เมกาโลปา (Megalopa Stage) และระยะตัวปู (Crab Stage) ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล ในบ่อคอนกรีตขนาด 1.3 เมตร x 0.70 เมตร โดยใช้ระดับความหนาแน่น 225 ตัว/ลิตร, 20 ตัว/ลิตร และ 2 ตัว/ตารางนิ้ว ตามลำดับ ภายใต้ระดับความเค็มน้ำ 24,27 และ 30 ppt โดยมีชนิดของอาหารเป็นปัจจัยร่วมในการอนุบาลลูกปูระยะซูเอีย และการใช้วัสดุหลบซ่อนของการอนุบาลในระยะเมกาโลปาและระยะตัวปู เพื่อตรวจสอบการรอดตาย การเจริญเติบโต และการพัฒนาการของลูกปูม้า
ผลจากการอนุบาลในระยะซูเอีย พบว่า ชนิดอาหารมีผลต่อการรอดตาย กล่าวคือการอนุบาลโดยใช้โรติเฟอร์กับอาร์ทีเมียวัยอ่อน มีอัตราการรอดตายสูงสุด (56.1±1.8%) โดยสูงกว่าการอนุบาลด้วยโรติเฟอร่วมกับอาร์ทีเมียเฟลก (42.4±2.1%) (p > .05) ขณะที่ไม่แตกต่างไปจากการใช้โรติเฟอร์ร่วมกับไรแดง (p > .05) ชนิดอาหาร ความเค็มน้ำ และความเค็มน้ำร่วมกับอาหาร มีผลต่อการเจริญเติบโต (p > .05) การอนุบาลที่ความเค็มน้ำ 24 และ 27 ppt ลูกปูจะมีความยาวสูงกว่าการอนุบาลในความเค็มน้ำ 30 ppt (p > .05) ซึ่งการใช้โรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียวัยอ่อน ส่งผลให้ลูกปูมีความยาวเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (p > .05) หากพิจารณาทั้งสองปัจจัยร่วมกันแล้ว พบว่าลูกปูที่อนุบาลที่ความเค็มนำ 24, 27 และ 30 ppt ที่อนุบาลด้วยโรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียวัยอ่อน และ ความเค็มน้ำ 27 ppt ที่อนุบาลด้วยโรติเฟอร์ร่วมกับไรแดงมีความยาวสูงสุด และไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าลูกปูมีความยาวเพิ่มขึ้นต่ำสุดเมื่ออนุบาลด้วยโรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียเฟลก โดยมีความยาวลดลง (p > .05) เมื่อความเค็มน้ำสูงขึ้น ความเค็มน้ำที่สูงขึ้นส่งผลให้ปูใช้ระยะเวลาพัฒนาการตั้งแต่แรกฟักจนถึงเริ่มเข้าระยะเมกาโลปาวสั้นลง (p > .05) ความเค็มน้ำ 30 ppt ส่งผลให้ลูกปูระยะซูเอียใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด (8.1±0.4 วัน) การใช้โรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียเฟลก ส่งผลให้ใช้เวลาในการพัฒนาการของลูกปูระยะซูเอียนานที่สุด (p > .05) ขณะที่ความเค็มน้ำร่วมกับชนิดอาหารไม่มีผลต่อระยะเวลาการพัฒนาการ (p > .05)
ผลการอนุบาลลูกปูม้าระยะเมกาโลปาและตัวปู (C1-C5) พบว่าความเค็มน้ำ และความเค็มน้ำร่วมกับการใช้วัสดุหลบซ่อนไม่มีผลต่ออัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต และการพัฒนาการของลูกปูทั้งสองระยะ (p > .05) การใช้วัสดุหลบซ่อนแขวนในแนวดิ่ง ส่งผลให้ลูกปูระยะเมกาโลปามีอัตราการรอดตาย (58.9±1.9%) สูงกว่าการใส่วัสดุกองพื้น และให้ผลในทางกลับกันในระยะตัวปู (p < .05) ในทางตรงกันข้ามการใส่วัสดุหลบซ่อนแขวนแนวดิ่ง ส่งผลให้ลูกปูระยะเมกาโลปามีการเจริญเติบโตช้ากว่าการใช้วัสดุหลบซ่อนกองที่พื้น และให้ผลในทางกลับกันในระยะตัวปู (p < .05)

























บุญรัตน์ ประทุมชาติ; บรรจง เทียนส่งรัศมี

ชื่อเรื่อง:
สถานภาพทรัพยากรปูทะเลของไทยในปัจจุบัน
Article title:
Present status of mud crab resources of Thailand
ชื่อเอกสาร :
การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 สาขาประมง สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
Source title :
Proceedings of the 37th Kasetsart university annual conference: Fisheries and Natural Resources and Environmental Economics
หน่วยงานจัดพิมพ์:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม; ทบวงมหาวิทยาลัย
สถานที่พิมพ์:
กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์:
2542
หน้า:
หน้า 75-81
จำนวนหน้า:
465 หน้า
ภาษา:
ไทย
สาระสังเขป:
สาระสังเขป (ไทย, อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร:
สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SH1 ก58 2542)
หมวดหลัก:
M01-Fisheries and aquaculture - General aspects
หมวดรอง:
M11-Fisheries production
อรรถาภิธาน-อังกฤษ:
SCYLLA; NATURAL RESOURCES; SURVEYS; RESOURCE MANAGEMENT; FISHERY DATA; THAILAND
ดรรชนี-ไทย:
ปูทะเล; ปูดำ; ปูแดง; ปูขาว; ปูทองหลาง; ปูเขียว; ปูทองโหลง; ปูลาย; ชีววิทยา; ความสำคัญ; สถานภาพ
บทคัดย่อ:
ปูทะเลที่พบในน่านน้ำไทยมี 3 ชนิดคือ ปูดำ หรือปูแดง (Scylla serrata Forskal) ปูขาวหรือปูทองหลาง (S. oceanica Dana) และปูเขียว, ปูทองโหลง หรือปูลาย (S.tranquebarica Fabricius) ปูทะเลมีไข่ตลอดปี แต่ฤดูที่ปูเดินทางออกทะเลเพื่อวางไข่นั้นจะอยู่ในเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ ปูทะเลขนาด 9.3-10.6 ซ.ม. มีไข่ประมาณ 1.7-3.2 ล้านฟอง ปูทะเลวัยเจริญพันธุ์มีขนาดความกว้างของกระดองประมาณ 8.5-9.0 ซ.ม. อายุประมาณ 10-12 เดือน ปูที่เกิดแต่ละรุ่นประมาณร้อยละ 50 จะถูกชาวประมงจับก่อนที่จะได้มีโอกาสผสมพันธุ์ ในปี 2538 ปูทะเลที่จับได้ทั่วประเทศมีประมาณ 5,900 ตัน ร้อยละ 50 ของปูที่ชาวประมงจับเป็นปูที่มีขนาดต่ำกว่า 9 ซ.ม. ปูขนาดเล็กที่ชาวประมงจับมีจำนวนสูงขึ้นจากร้อยละ 37 ในปี 2532 เป็นร้อยละ 87 ในปี 2541 อัตราตายของปูทะเลที่เกิดจากชาวประมงจับมีค่าประมาณ 8.085 ส่วนอัตราที่ตายตามธรรมชาติมีค่าประมาณ 3.419 ทรัพยากรปูทะเลของไทยในปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ถูกชาวประมงจับใช้อย่างหนักจนเกินกำลังที่จะเกิดทดแทนได้ตามธรรมชาติ สาเหตุเนื่องจากป่าชายเลนมีปริมาณลดลง เครื่องมือที่ชาวประมงใช้จับปูมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กฏหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปูทะเลที่มีอยู่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพในการใช้บังคับในทางปฏิบัติ ผู้เขียนได้เสนอแนะมาตรการ และแนวทางที่เหมาะสมที่ควรนำไปใช้จัดการทรัพยากรปูทะเลในน่านน้ำไทยให้เป็นไปอย่างถูกต้องและยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: