วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

นโยบายของไต้หวันต่อจีน

5.2 นโยบายของไต้หวันต่อจีน

นโยบายที่ไต้หวันได้กำหนดใช้ในการดำเนินความความสัมพันธ์กับจีนในปัจจุบัน มีหลายประการไต้หวันดำเนินนโยบายหลักต่อจีนอันได้แก่ การพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากจีนมาโดยตลอด โดยไต้หวันได้เน้นถึงความต้องการให้จีนยอมรับไต้หวันในฐานะรัฐที่มีความทัดเทียมกับจีนไม่ใช่เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของจีน โดยผู้นำของไต้หวันไต้หวันได้พยายามอ้างถึงสถานะของไต้หวันเป็นรัฐอิสระมาเป็นเวลา 84 ปี ในขณะที่จีนมีอิสระเพียงแค่ 45 ปีเท่านั้น เท่าที่ผ่านมาไต้หวันดำเนินการนโยบายต่างๆ ต่อจีนดังนี้

5.21 นโยบายปฏิบัตินิยม (Pragmatic Diplomacy)

เป็นนโยบายที่ไต้หวันที่ไต้ในการติดต่อสัมพันธ์ประเทศต่างๆด้วยการเดินทางของผู้นำประเทศไปยังประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการใช้การทูตผ่านบุคคล อันนำไปสู่ความสัมพันธ์ทวิภาคี ไต้หวันเป็นเป็นแค่รัฐบาทท้องถิ่น เป็นประเด็จที่รณรงค์ไม่ให้ประชาชนไต้หวันยินยอมหรือประนีประนอมต่อจีนในประเด็จดังกล่าวไต้หวันจะใช้เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวัฒนธรรมในการแพร่ขยายในความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก
การเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ของผู้นำไต้หวันปรากฏชัดขึ้นในสมัยของประธานนาธิบดีหลี่เต็งฮุย ได้มีการเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ อาทิ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตและจอร์แดนในช่วงต้นเดือนเมษายน ค. ศ. 1995 ละเยือนสหรัฐอเมริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน การเดินทางของนายกรัฐมนตรีไต้หวันนายเหลียงชาน ไปเยือนออสเตรียฮังการี และสาธารณรัฐเซ้ก ในการเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ผู้นำของไต้หวันเหล่านี้ได้นำประเด็นสถานภาพของไต้หวันที่ถูกต้องกดดันจากนโยบายการโดดเดี่ยวไต้หวันจากประชาคมโลก ไต้หวันได้พยายามเรียกร้องและแสดงให้เห็นว่า ไต้หวันประสบความสำเร็จในการมีส่วนร่วมในองค์กรต่างๆอาทิThe Asian Development Bank/ The Pacific asin Economic Coucil/ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในเดือนมีนาคม ค. ศ. 1996 ที่ผ่านมา ผู้นำของไต้หวันได้ให้สัมภาษณ์เมือวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1996 ต่อนิยมในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวัน ซึ่งการเลือกตั้งดังกล่าวถือเป็นการเลือกตั้งโดยตรงที่ถูกต้องตามระบบประชาธิปไตย และประชาชนไต้หวันจำนวน 21 ล้านคนได้แสดงให้เห็นถึงความมีอิสรภาพ ประชาธิปไตย และเกียรติศักดิ์ศรี โดยผู้นำไต้หวันได้ตอกย้ำเกี่ยวกับการเลือกตั้งดังกล่าวว่าเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเป็นอิสระของไต้หวัน”แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับการใช้กำลังทหารของจีน ซึ่งการกระทำดังกล่าวของจีนคอมมิวนิสต์ไม่สามารถลบข้อเท็จจริงที่ว่าไต้หวันเป็นอิสระลงได้
การเผชิญหน้าระหว่าไต้หวัดและจีน ทำให้ปัญหาไต้หวันได้รับความสนใจจากทั่วโลกมากยิ่งขึ้น ไต้หวันได้พยายามดำเนินนโยบายปฏิบัตินิยม (Pragatic Policy) โดยเฉพาะการใช้การทูตด้วยความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของไต้หวันต่อประเทศในโลกที่สาม ในการเพิ่มความสัมพันธ์ กับประเทศต่างเช่น ในวันที่ 4-19 กันยายน ค.ศ. 1997 ประธานาธิบดีไต้หวัน นายหลี่ เต็งฮุย พร้อมกับผู้ติดตามที่เป็นหน่วยงานราชการและกลุ่มนักธุรกิจของไต้หวัน ได้เดินทางไปยังประเทศในอเมริกาไต้ คือ ประเทศเอลชาวาดอร์ ฮอนดูรัส ปานามา กัวเตมาลาและปารากวัย โดยได้รับเชิญจาก 2 งาน คือ The World Conferences on the Panama Canal in Panama City และ Meeting in san Salvador of the system of central amercan integration SICA และได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศ 7 ประเทศในภูมิภาคนั้น ระหว่าการเดินทางได้มีการพบปะกับผู้นำของประเทศดังกล่าว ตลอดการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ
นอกจากนี้ ไต้หวันได้เคลื่อนไหวที่จะนำความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไต้หวัน เป็นตัวนำการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา มีประเทศได้ติดต่อทางการค้ากับไต้หวันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ไต้หวันยังให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาในโลกที่สาม การดำเนินนโยบายการทูตด้วยเงิน เพื่อจักได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูลอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน แต่การดำเนินนโยบายดังกล่าวก็มีผลต่อประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กในแถบอัฟริกา หรืออเมริการใต้เท่านั้น โดยมีสถานสถาปนาความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุยได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ ได้แก่ Grenada 1988 / Belize 1989 / Liberia 1989 / the Bahamas 1989/ Guinea Bissau 1990/ Lesotho 1990 / Nelize 1989/
จะเห็นว่า ไต้หวันได้พยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศในหลายแนวทางด้วยกันอันประกอบการดำเนินนโยบายปฏิบัตินิยม การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ การใช้แนวทางการรวมชาติภายใต้เงื่อนไขของไต้หวัน

5.2.2.1 การพยายามสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

สหประชาชาติ ถือว่าเป็นเวทีการเมืองระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ.1949 ขณะที่จีนได้เป็นประเทศหนึ่งในห้าของคณะมนตรีความมั่งคงของสหประชาชาติ จีนแก้มีปัญหาการสู้รบระหว่างรัฐบาทคณะชาตินำโดยนายพลเจียงไคเช็คกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ซึ่งในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้รับชัยชนะละสถาปนาเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแทนสาธารณรัฐจีน เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองสหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับจีนคอมมิวนิสต์ในการเป็นตัวแทนของประเทศจีน จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐรัฐอเมริกาจึงหันกลับมาให้ความสำคัญกับจีนคอมมิวนิสต์ และมีส่วนผลักดันให้รัฐบาทจีนคอมมิวนิสต์ได้รับการรับรอง โดยในการประชุมของสหประชาชาติ ในปีค.ศ. 1971
ภายหลังจากที่ไต้หวันถูกขับออกจากสหประชาชาติ ประเทศต่างๆ จึงต้องปรับความสัมพันธ์กับจีนและตัดความสัมพันธ์กับไต้หวันตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหงว่างประเทศทำไต้หวันถูกโดดเดี่ยวทางการเมืองระหว่าประเทศ แต่ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาไต้หวันสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของตนจนประประสบความสำเร็จและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในอันดับต้นๆของโลก
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 ประเทศนิคาราก้า และประเทศอื่นๆที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันอีก 10 ประเทศ ได้เสนอให้สหประชาชาติพิจารณาเรื่องการรับไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว การเรียกร้องของประเทศต่างๆ ในครั้งนี้ ทำให้ปัญหาสถานะของไต้หวันได้รับความสนใจจากนานาประเทศมากขึ้น ไต้หวันได้ประท้วงการไม่ยอมรับไต้หวันว่าเป็นเพราะจีนซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของประเทศสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงถาวรในสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ไต้หวันจึงได้หันไปใช้วิธีการทางทูตกับประเทศต่างๆ และยืมยันการประกาศโยบายที่จะขอเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ในการนี้กระทวงการต่างประเทศของไต้หวัน ได้นำบทความเกี่ยวกับการประกาศนโยบายดังกล่าวออกเผยแพร่และลงพิมพ์ในนิตยสารเกี่ยวกับต่างประเทศ เช่น The Newyork times/ The Washington post/ Newsweek/Time/ The wall street journal และ ForeignAffairs โดยมีการรณรงค์เกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติคือ “ ประชาชน 21 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในสหธารณรัฐจีนไต้หวัน ไม่มีสิทธิเป็นตัวแทนของ ตนเองในสหประชาชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 และปัจจุบันไต้หวันประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและได้กลายเป็นประเทศที่มีการค้าใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก และมีการติดต่อการค้ากับนานาชาติไต้หวันได้จัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและกองทุนเพื่อการพัฒนา ในด้านการพัฒนาทางการเมือง ไต้หวันเป็นประเทศที่มีการเลือกตั้งผู้แทนตามระบบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง
ความพยามของไต้หวันในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรสหประชาชาติ ทำให้จีนซึ่งติดตามการเคลื่อนไหวดังกล่าวของไต้หวัน และได้ตีความหมายการกระทำกังกล่าวว่าเป็นการพยายามที่จะแยกตัวเป็นอิสระออกจากจีนซึ่งเป็นสิ่งที่จีนยอมรับไม่ได้ และโดยที่จีนถือว่าประเด็นเกี่ยวกับไต้หวันเป็นกิจการภายในของจีน จีนจึงสมารถพิจารณาการใช้กำลังเข้าปราบปรามไต้หวันได้
5.2.3 การรวมชาติภายใต้เงื่อนไขระบบประชาธิปไตย และการยอมรับไต้หวันในฐานะที่เท่าเทียมกัน

ภายหลังการข่มขวัญไต้หวันด้วยการใช้กำลังไม่สำเร็จ เนื่องจากการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในการป้องกันไต้หวัน ส่งผลให้จีนได้พยายามใช้นโยบายการรวมชาติ โดยสันติวิธี เป็นทางออกของความขัดแย้งด้วยการเสนอแนวคิดหนึ่งประเทศสองระบบต่อไต้หวัน
ในสมัยของประธานาธิบดีเจียงจิงกัว ไต้หวันได้สนองตอบต่อการรวมชาติกับจีนโดยดารยึดหลักการของลัทธิไตรราษฎร์ของด.ซุนยัคเซ็น อันได้แก่ หลักการชาตินิยม ประชาธิปไตย และสวัสดิการสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการรมชาติ เพราะความขัดแย้งดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าไต้หวันมิได้ยอมกระทำตามแนวความคิดรวมชาติของจีน แต่ยึดนโยบาย 3 ไม่อยู่ คือ ไม่ติดต่อการค้าโดยตรง ไม่ติดต่อการขนส่งทางอากาศหรือทางทะเล ในเวลาต่อมา เมื่อไต้หวันมีการเปลี่ยนผู้นำเป็นประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุย ไต้หวันก็ยังคงยึดถือหลักการดังกล่าวและได้เน้นการรวมการชาติภายใต้ระบบประชาธิปไตยและเสรีภาพไต้หวันได้ปฏิเสธข้อเสนอของจีนที่จะเปิดการหารือระหว่างกันในระดับพรรคของทั้งสองฝาย ได้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนกับพรรคก๊กมินตั๋งของไต้หวัน โดยผู้นำของไต้หวันได้กล่าวไว้ว่าจะมีการขยายสิ่งดีๆ ไปยังเพื่อนร่วมชาติจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ยังคงต้องการให้มีการรวบชาติ แต่ภายในระบอบประชาธิปไตยละเสรีภาพหรือมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยของจีนเสียก่อน
ไต้หวันได้ตอบสนองนโยบายการรวมชาติโดยสันติวิธีของนายเติ้งเลี่ยวผิง ผู้นำจีนซึ่งได้นำการรวมชาติโดยสันติวิธีเสนอต่อไต้หวัน โดยให้ไต้หวันมีฐานะเป็นเขตบริหารพิเศษ อันเป็นแนวทาที่ให้อำนาจการปกครองตนเองได้ระดับหนึ่งเช่นเดียวกับเกาะฮ่องกง หรือเรียกว่าเป็นนโยบาย หนึ่งประเทศ สองระบบด้วยการยื่นเสนอแนวคิด และการตะหนักว่าจีนได้ถูกแบ่งเป็นสองประเทศ รวมทั้งการยอมรับว่าไต้หวันได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสถานะของไต้หวันในปัจจุบัน มีระดับของเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในระดับที่ควรจะได้รับการยอมรับ และควรมีการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างจีนแลชะไต้หวันด้วยการปรึกษาหรือ
ประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุย ได้กล่าวถึงแนวทางการรวมชาติที่มีวัตถุประสงค์ ให้อนาคตของชาวจีนรวมชาติและกลายเป็นชาติที่มีอิทธิพลในโลก ดังนั้นไต้หวันจึงนำแนวทางการรวมชาติที่เสนอโดยสภาพกิจการจีนแผ่นดินใหญ่(Guideline for National Unification by Mainland Affaires Council the Executive Yuan Republic of China) ซึ่งมีหลักการ ดังนี้ คือ
ระยะสั้น
1. การสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้ดีโดยมีการแลกเปลี่ยนมากขึ้น โดยไม่รุกรานหรือทำอันตรายต่ออีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องของความมั่นคง เสถียรภาพ ในการแลกเปลี่ยนที่เป็นจุดกลางและไม่ปฏิเสธการมีบทบาททางการเมืองต่อภายนอกในขณะที่มีภาวะเป็นกลางของทั้ง 2 ฝ่าย
2. มีการกำหนดแนวทางการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยการขยายการติดต่อระดับประชาชนต่อประชาชน เพื่อเป็นการต่อเนื่องทางสังคมซึ่งกันและกัน
3. เพื่อเพิ่มการติดต่อของประชาชน ทั้งสองฝ่ายต่างต้องกำหนอการปฏิรูปเศรษฐกิจในแถบที่ต้อแงการมีการติดต่อกัน
4. ทั้งสองฝ่ายต้องการปฏิบัติภายใต้กฎของหนึ่งจีน และแก้ไขปัญหาด้วยสันติ และมีการเคราพซึ่งกันและกัน ไม่ปฏิเสธอีกฝ่ายในการเข้าร่วมในประชาคมโลก ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจเชื่อใจและไว้ใจวางใจมากยิ่งขึ้น
ระยะกลาง
1. จัดตั้งช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางกระทำและอย่างท่าเทียมกัน
2. มีการติดต่อทางไปรษณีย์ ขนส่ง การเชื่อมต่อทางการค้าจะต้องได้รับอนุญาต และให้ความรู้กับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อลดช่องทาง
3. การทำงานร่วมกัน ของทั้ง 2 ฝ่าย ในบทบาทของเวทีนานาชาติ
4. กรรเดินทางเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเกิดขึ้น

ระยะยาว
การจัดตั้งองค์กรในการเป็นที่ปรึกษาเพื่อการรวมชาติ ซึ่งจะจัดตั้งขึ้น 2 ฝ่าย โดยมีจุดมุ่งหมายในด้านประชาธิปไตยมีเศรษฐกิจ แบบเสรี การมีความยุติธรรมในสังคม และการรวมชาติโดยไม่มีการใช้อาวุธเข้าบังคับ และมีการตั้งสถาบันที่จะเป็นประชาธิปไตย

นโยบายการสร้างชัยชนะร่วมกัน (Win Win Policy)

ในการดำเนินนโยบายของไต้หวันเกี่ยวกับการรวมชาติกับจีน ได้มีการนำแนวคิดการสร้างชัยชนะร่วมกัน (win win P0lcy) มาใช้เพื่อกำหนดสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน โดยแนวคิดดังกล่าวได้ถูกเสนอโดยนายนกรัฐมนตรีเหลียงชานของไต้หวัน แนวคิดของ (win win P0lcy) คือการเปลี่ยนสถานการณ์ของความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต้องการให้อีกฝ่ายสูญเสียมากที่สุดมาเป็นการร่วมมือกันเพื่อรับชนะร่วมกัน การร่วมมือกันดังกล่าวเริ่มจากการติดต่อในด้านต่างๆได้แก่ด้านโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านวัฒนธรรมและศิลป และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลและเคราพซึ่งกันและกัน เพราะความขัดแย้งจะสร้างความสูญเสียให้เสียทั้งสองฝ่าย จึงควรมาร่วมกันเพื่อสร้างสถานการณ์ win win

แนวคิดหลักของ win win Policy คือ

1. ไม่ทำลายความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่าย
2. พยายามเข้าใจสถานะของกันและกัน และไว้วางใจในพฤติกรรมซึ่งกันและกัน เนื่องจากความต่างของความต่างของทั้งสองฝ่าย ในเรื่องระบบการปกครอง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทั้ง 2 ฝ่ายทำให้ต้องพยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
3. การสร้างความสัมพันธ์ 2 ฝ่ายเป็นลักษณะที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ เช่นสาธารณรัฐจีนได้ยุติภาวะกบฏของจีนคอมมิวนิสต์
4. ความรู้สึกร่วมในความเป็น “จีน”
ปัญหาสำคัญที่ขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน คือ การขาดความจริงใจในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งถ้าทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นการสร้างลักษณะของการชนะด้วย อุปสรรคของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้แก่
1. วิธีการที่จีนได้ใช้สูตร หนึ่งประเทศ สองระบบ โดยไม่คำนึงถึงความคิดของประชาชนในไต้หวัน
2. จีนไม่หยุดการสกัดกั้นไต้หวันในการดำเนินนโยบายทางการทูต และไม่คำนึกถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนไต้หวัน 21 ล้านคน สำหรับการได้รับการเคราพจากนานนานาชาติและต้องมีที่ว่าสำหรับการนำออกและการพัฒนาประเทศ
3. จีนยังคงมีแนวคิดที่จะใช้กำลังต่อไต้หวัน แต่การออกโฆษณาชวนชวนเชื่อเท่านั้น
4. การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบซึ่งมีทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งจีนได้ทำทุกวิธีทางที่จะจำกัดการแลกเปลี่ยนด้านข่าวสารข้อมูล
ดังนั้น กุญแจสำคัญของความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ คือหนึ่ง ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและค้า ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศมีการพัฒนาไปได้ดีกว่านี้ สอง ขยายการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการศึกษา สาม สร้างโครงสร้างในการปรึกษาหารือกัน คือ มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนโดยต้องให้มีมากยิ่งขึ้นทั้งในระบบและนอนระบอบ ถ้าการแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้โอกาสในการแก้ไขปัญหาความสำคัญแย้งต่างๆ มีเพิ่งเพราะฉะนั้นการด้วย
ประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุยได้เสมอแนวทางการรวมชาติ 6 ประการ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อนโยบายการรวมชาติของจีนที่มีเจียงเจ๋อหมิน โดยมีหลักการว่า จีนคอมมิวนิสต์และไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีน ทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยจะต้องช่วยกันสำนักรวมชาติและและเป็นความรับผิดชอบและเป็นของชาวจีนทุกคนที่ต้องช่วยกันรวมชาติของ และการมีประชาธิปไตยและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และการรวมชาติ 6 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้คือ
1. การยอมรับและเคราพความจริงที่ว่าไต้หวันและแผ่นดินใหญ่จีนปกครองด้วยหน่อยการเมืองที่มีอธิปไตยสองหน่วยงานมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เท่านั้น จึงสามารถแก้ปัญหาการรวมชาติแบบสันติได้
2. วัฒนธรรมจีนเป็นความภาคภูมิใจของชนชาวจีน ดังนั้นทั้งสองฝั่งควรสนับสนุนความเป็นพี่น้องและส่งเสริการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
3. ทั้งสองฝ่ายควรจะมีส่วนร่วมในองค์การองค์การต่างประเทศไต้หวันจะไม่ปล่อยโอกาสความเป็นไปได้ผู้ทั้งสองฝ่าย จะพบปะเจรจาในสถานการณ์ระหว่างประเทศเช่นการเจรจาในการประชุมของเอเปค
4. แผ่นดินใหญ่ควรแสดงถึงความตั้งใจดี โดยการประกาศยุติการใช้กำลังทหารกับไต้หวัน นี่คือพื้นฐานที่สำคัญที่สำคัญของพระการอ้างเรื่องเข้าแทรกแซงของต่างชาติและการแยกตัวเป็นอิสระของไต้หวันเพื่อนคงการใช้กำลังไต้หวัน เท่ากับเป็นเป็นการเพิกเฉยและละเมิดหลักการและจิตวิญญาณในการสร้างสาธรณรัฐจีน
5. ความร่วมมือกับแผ่นดินใหญ่นั้น เป็นไปลักษณะเพื่อว่ากระตุ้นและประกันประชาธิปไตย และความมั่นคงของฮ่องกงและมาเก๊า
จะเห็นได้ว่าในสาระของข้อเสนอ 6 ประการของไต้หวัน เป็นการแสดงจุดยืนเท่าทีของไต้หวันในการคงไว้ ซึ่งสภาพรัฐที่มีอำนาจประชาธิปไตยและเป็นรัฐอิสระเท่านั้น ถ้าจะมีการร่วมต้องด้วยความเท่าเทียมในฐานะรัฐบาลของชาติทั้ง 2 ฝ่าย แลละเรียกร้องให้จีนยุติเท่าทีทีจะใช้กำลังทางทหารโจมตีไต้หวัน จึงจะมีการรวมชาติได้ เมื่อพิจารณาความในข้อเสนอ 6 ข้อ ของประธานาธิบดีหลี่ยเต็งฮุย จะเห็นถึงปัญหาพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวัน คือหลักการที่ไต้หวันยืนยันถึงความเป็นรัฐอิสระของไต้หวันที่จีนไม่สามารถยอมรับได้ เพราะจีนว่าไต้หวันเป็นเป็นส่วนของจีนตลอดมา

5.2.4 ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่างจีนกับไต้หวัน
ในช่างระยะเวลาของการเผชิญหน้าทางการทูต ไต้หวันและจีนได้การติดต่อระหว่างประชาชนสู่ประชาชนซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 เมื่อรัฐบาลของสาธารณรัฐจีนในสมัยของประธานาธิบดีดีเจียงจิงกัวได้ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1987 ประกาศยกเลิกข้อห้ามคนไต้หวันในการเดินทางมายังจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์ในระดับบุคคลต่อบุคคลอย่างไม่เป็นทางการ และในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1991ประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุย ได้ยกเลิกสถานการณ์เป็นกบฏของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันก็มีความเปราะบางและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากมีเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบต่อความสัมพันธ์ดังเช่น เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1994 นักท่องเที่ยวชาวไต้หวันที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลตอนกลางวันของจีน ถูกโจรกรรมและฆาตกรรม ได้สร้างความโกรธแค้นแก่ไต้หวันอย่างรุนแรง ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประทศหยุดชะงักไปนานเกือบ 1 ปีเต็ม
จากการติดต่อทางการค้าและการลงทุนนี่เอง ฝ่ายรัฐบาลไต้หวันจึงตั้งหน่วยงานเอกชน เพื่อที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลไต้หวันในการเจรจาต่างๆกับจีนคอมมิวนิสต์ โดยได้ตั้ง “สภากิจการแผ่นดินใหญ่” (Mainland Affais Council) ภายใต้สภาบริหาร (Executive Yuan) และ “มูลนิธิแลกเปลี่ยนระหว่างช่องแคบ” (The Straits Exchange foundation :SEF) ซึ่งเป็นองค์กรอกชนทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารกับจีน โดยให้ถือว่าเป็นเป็นตัวแทนติดต่อของภาคเอกชน โดยมีนาย Koo Chen Fu เป็นผู้นำ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1991 และในเดือนธันวาคม ค.ศ.1991 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ตั้ง “สมาคมว่าด้วยความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน” Association for Relations Across the Taiwan Straits : ARATS )ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานแทนรัฐบาทในการติดต่อกับไต้หวัน โดยมีผู้นำคือนาย Wang Daohan อันเป็นช่องทางในการต่อเนื่องสื่อสาระหว่างประธานาของ SEF และ ARATS ได้พบปะกันทุกๆ 3 เดือน และให้มีการจัดประชุมระหว่างเลขาธิการทั่งไปของทั้งสองฝ่ายเป็นประจำทุก 6 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีการติดระหว่างจีนกับไต้หวันในระดับประชาชน หรือ Thee Links อันได้แก่การติดต่อทางไปรษณีย์ การค้า และการบริการทางอากาศและการเดินเรือ ประธามาธิบดีหลี่เต็งฮุยได้กำหนดความสัมพันธ์ทั้ง 3 ทาง ให้เป็นการติต่ออย่างไม่เป็นทางการโดยให้เหตุผลว่าไต้หวันไม่ได้ปฏิเสธการติดต่อ 3 ทางดังกล่าว ถ้าหากความมั่นคงและการพัฒนาของไต้หวัน และปัญหาชายฝั่งของไต้หวันยังไม่ได้รับการรับรองจากจีน ให้การติดต่อ 3 ทางดีขึ้น โดยเฉพาะจีนมีแรงงานและมีที่ดีสำหรับโรงงานในราคาถูก ทำให้ต้นทุนในการผลิตสิ้นค้าต่างๆของไต้หวันมีราคาต่ำกว่าสินค้าจากที่อื่น
5.2.5 การตอบโต้การใช้กำลังขู่ปราบของจีนในวิกฤตการณ์ช่องคบไต้หวัน
ด้วยจีนประกาศท่าที่และบทบาทของจีนเกี่ยวกับนโยบายของไต้หวันดังกล่าวว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ดังนั้นเรื่องปัญหาระหว่างจีนกับไต้หวันเป็นปัญหาความขัดแย้ภายในประเทศ ซึ่งประเทศอื่นๆ จะเข้ามาแทรกแซงไม่ได้ จีนอาจตัดสินใจใช้กำลังเข้าปราบปราบไต้หวันได้หากไต้หวันได้มีการประกาศอิสระภาพ อันจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวันในปี ค.ศ. 1995-1996 กล่าวคือ
ในระหว่างปี ค.ศ. 1995-1996 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันได้เผชิญหน้าด้วยการใช้กำลังเข้าข่มขู่ไต้หวัน โดยมีสาเหตุจากความไม่พอใจของจีนต่อบาทของผู้นำของไต้หวันในการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ซึ่งจีนได้ตีความบทบาทดังกล่าวว่าเป็นการแสวงหาการยอมรับของไต้หวันในฐานะรัฐชาติอันเท่ากับว่าไต้หวันพยายามที่จะแยกตัวเป็นอิสระจากจีน ได้พัฒนาให้เห็นถึงพลังของประชาชนที่จะเลือกหนทางในการปกครองประเทศด้วยความต้องการของประชาชน อันเป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ของพรรคก๊กมินตั๋งที่ต้องการอิสรภาพเช่นเดียวกับพรรคอื่นๆ ซึ่งในหลักการของพรรคที่ผ่านมามีนโยบายที่ตอบรับการรวมชาติกับจีนแล้วก็ตาม
จากเหตุการณ์การเยือนสหรัฐอเมริการของประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุยดังกล่าว เป็นการจุดชนวนความไม่พอใจของจีนอย่างมาก จีนได้ออกมาประมาณว่า การอนุญาตให้นำไต้หวันเดินทางมาเยือกสหรัฐครั้งนี้ เป็นแผนที่จะสนับสนุนแผนการประกาศเอกราชจีน เป็นการยืนยันถึงแนวคิดพื้นฐานของประชาชนไต้หวันเกี่ยวกับการประกาศอิสระจากจีน
จีนได้เริ่มการซ้อมรบในบริเวณทะเลชายฝั่งเขตแดนของไต้หวันในระหว่างวันที่ 21 -26 กรกฏาคม ค.ศ. 1995 ด้วยการทดลองยิงขีปนาวุธ 6 ลูก ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของไต้หวันห่างจากไต้หวันเพียง 140 กิโลเมตร ก่อให้เกิดกระแสความความตื่นกลัวของประชาชนบนเกาะไต้หวัน และในระหว่างวันที่ ส่งผลให้หุ้นในตลาดหุ้นไต้หวันตกติดต่อกัน นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไต้หวัน นาย Fredrick Chien ได้กล่าวในวันที่ 29 ธันวาคมค.ศ. 1995 ในการแถลงข้างลิ้นปี ค.ศ.1995 กล่าวเกี่ยวความสัมพันธ์ทั้งเป็นการและไม่ทางการของไต้หวันกับนานาประเทศว่าความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่มีการสถาปนาทางการการทูตไต้หวันประมาณ 30 กว่าประเทศ โดยส่วน มากจะเป็นประเทศในแถบลาตินอเมริกาและได้กล่าวย้ำถึงความมั่นคงของความสัมพันธ์ดังกล่าวรวมทั้งในประเทศแถบอัฟริกาไต้ สำหรับความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ นาย Fredick Chien ได้กล่าวว่า นับตั้งแต่ที่ได้ใช้ความพยายามเสนอการขอเข้าร่วมในสหประชาชาติเป็นเวลากว่า 3 ปีมาแล้ว จีนไม่ยอมรับว่าไต้หวันเป็นศูนย์กลางและเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นการเพิกเฉยต่อความจริง
นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1991 ประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุยได้ประกาศยุติภาวะกบฏของจีนคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเป็นการพยายามเริ่มการปรับความสัมพันธ์ และไต้หวันได้ยอมรับว่าจีนเป็นหน่วยการเมือง และไต้หวันได้พยายามทำงานร่วมกันในสังคมของนานาชาติ แต่ทว่าจีนไม่ทราบถึงสถานะของไต้หวัน 3 ประการ คือ ประการแรก ไต้หวันไม่ได้เปลี่ยนแปลงกำไรจากจีนประการที่สอง ไต้หวันไม่ได้เรียกร้องต่อสหประชาชาติ และประการที่สาม การที่ไต้หวันจะเข้าร่วมในสหประชาชาติจะช่วยให้นำมาสู่การรวมชาติของจีน ตลอดระยะเวลา 46 ปี ไต้หวันไม่เคยลืมประเด็นที่ว่า จีนต้องรวมชาติ แต่ไต้หวันต้องการเห็นลักษณะหนึ่งจีน หนึ่งไต้หวันหรือ 2 จีน โดยไต้หวันเป็นอิสระ กระทรวงต่างประเทศของไต้หวันกล่าวว่าจะมีการพยายามให้เกิดการพิจารณานโยบายเกี่ยวกับจีนของไต้หวันใหม่ ซึ่งต้องมีการจัดลำดับความสำคัญให้กับนโยบายต่างประเทศไต้หวัน
ในระยะของต้นปี ค.ศ. 1996 ก่อนจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวัน ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1996 ทางการจีนได้ประกาศระยะเวลาในการซ้อมรบบริเวณทะเลใกล้บ้านไต้หวัน ในระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม ค.ศ.1996 และในการดำเนินการซ้อมรบครั้งนี้ ได้มีการใช้กระสุนจริงสภากิจจีนแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันได้ออกแถลงการณ์ประณามว่า การกระทำของจีนครั้งนี้เป็นการยั่วยุให้เกิดความแตกแยก และคุกคามความมั่นคงของของไต้หวันทั้งยังทำให้แผนการรวมชาติระหว่างจีนและไต้หวันห่างไปออกไป ขณะเดียวกันรัฐบาลของจีน ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ในทันทีเช่นกันว่า ประชาชนชาวไต้หวันไม่ควรจะมาตื่นกลัวกับการทดลองยิงขีปนาวุธและซ้อมรบจากจีน แต่ควรจะเกรงกลัวหายนะอันแท้จริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ไต้หวันได้มีแนวนโยบายที่จะตอบโต้การข่มขู่ของจีนด้วยการเตรียมพร้อมทหาร เพื่อป้องกันหากจีนใช้กำลังเข้าปราบปราบไต้หวัน ในการนี้ไต้หวันนำประเด็นการซ้อมรับของจีนออกเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ อันทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันได้รับความสนใจจากประทศต่างๆ อย่างมาก ไต้หวันไดมีการเตรียมความพร้อมของกำลังทหาร ซึ่งกองทัพของไต้หวันมีการพัฒนาให้มีความทันสมัย และมีอาวุธที่มีความทันสมัยมากกว่าจีน และมีความสามารถที่จะตอบรับต่อการบุกรุกของจีนได้ แต่ด้วยความเป็นปัจจัยทางด้านกำลังและขนาดของกองทัพจีนและความสามารถในการทหารของจีนย่อมจะสร้างความเสียหายให้กับไต้หวันแน่นอนไม่มากก็น้อย
สื่อมวลชนไต้หวันได้เขียนถึงประเด็นการใช้กำลังคุกคามไต้หวัน การกระทำของจีนแผ่นดินใหญ่เป็นการพยายามเตือนไต้หวันให้หยุดทำในหยุดทำในสิ่งที่จีนเห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพ อันได้แก่ การที่ไต้หวันเสนอเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ การพัฒนาประชาธิปไตยของไต้หวันรวมทั้งการเลือกตั้งผ่านมา และการแสดงออกของประธานาธิบดีหลี่เต็งฮุย ทั้งที่การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและถูกต้องเปิดเผยตามระบอบการปกครองประชาธิปไตย ดังนั้น จึงประเวลาที่จีนต้องได้รับการปลุกให้พื้นจากโลก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างบทบาทความก้าวร้าวในทะเลจีนใต้ของจีน เนื่องจากประเด็นของการเป็นรัฐอิสระของไต้หวันในปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวัน และการหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในทะเลจีนไต้ รวมทั้งประเด็นการพัฒนาประเทศของจีน เป็นเรื่องของระบบความมั่นคงในศตวรรษใหม่
ดังนั้น นโยบายหลักของไต้หวันต่อจีน คือ การแยกตัวเป็นอิสระ การดำเนินนโยบายที่ผ่านมา เช่น นโยบายปฏิบัตินิยม (Pragmatic Diplomacy) การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และการพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองกับองค์กรระหว่างประทศต่างๆ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยภายในประเทศ ประกอบด้วยการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองส่งผลให้กระแสการเรียกร้องอิสระจากจีนยังคงมีอยู่และกำลังเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ แต่ความหวาดเกรงต่อการใช้กำลังของจีนกดดันให้ไต้หวันไม่ได้ประกาศนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง ผู้นำไต้หวันเองได้คาดการณ์ไว้ว่าถ้าจีนใช้กำลังต่อไต้หวัน จีนจะต้องพบกับการกลับมาของสงครามเย็นในเอเชียตะวันออกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกระยะยาว อันสร้างความเสียหายต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน รวมทั้งการติดอาวุธของญี่ปุ่น การสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านการทหารที่สูงทากขึ้นของจีน และความเสี่ยงทางกาเมืองของจีนปัจจุบัน ทำให้จีนจะไม่สามารถโจมตีไต้หวัน
ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ของจีนกับไต้หวัน จึงอยู่ที่ประเด็นของการเสนอแนวทางการรวมชาติของจีนต่อไต้หวัน ด้วยนโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ ไต้หวันได้ปฏิเสธและได้เสนอเงื่อนไขที่จีนไม่สามารถยอมรับได้ เช่น สถานะของรัฐที่เท่าเทียมกันในการรวมชาติ กระแสดงความคิดของประชาชนที่เกิดจากการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยภายในประเทศไต้หวันทำให้การเรียกร้องอิสระจากจีนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้นำทางการเมืองภายในประเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของประทศ เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยมีแนวโน้มที่จะประกาศการเป็นอิสรภาพของไต้หวันจากจีน และความต้องการให้นานาประเทศในโลกยอมรับไต้หวันในฐานะรัฐชาติหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในความตึงเครียดของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวัน ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการในการติดต่อระหว่างบุคคลต่อบุคคลของทั้งสองประเทศได้ก่อตัวขึ้น การค้าลงทุนที่นักธุรกิจไต้หวันเข้ามาลงทุนติดต่อในจีนจำนวนมาก และการติดต่อระหว่างประชาชนในด้านอื่นๆ เช่น วัฒนธรรม สังคม หรือความสัมพันธ์ฉันญาติที่พลัดพรากจากสงครามกลางเมืองได้และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองฝ่ายมากขึ้น
นโยบายของไต้หวันต่อจีน จึงเป็นมิติความสัมพันธ์ในด้านต่างๆที่มีทั้งการเป็นศัตรูทางการเมือง และความสัมพันธ์ที่ดีทางด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์อื่นๆ ในรูปแบบของการติดต่ออย่างไรเป็นทางการ ด้วยปัจจัยของพัฒนาประเทศไต้หวันให้เจริญรุดหน้า ความก้าวหน้าของระบบประชาธิปไตยไต้หวัน จึงส่งผลให้ไต้หวัดยังคงยึดมั่นความพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากจีนต่อไปทั้งนี้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการใช้นโยบายการทูตด้วยการเงิน เพื่อแสวงหาการยอมรับจากประเทศต่างๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจเป็นข้อแลกเปลี่ยนและใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับนโยบายการรวมชาติของจีน

จ็จ

ไม่มีความคิดเห็น: